สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
วูซู
武术 Wǔshù (มวยจีน)
เป็นศิลปะแห่งวิทยายุทธ ท่าต่อสู้เป็นส่วนประกอบหลัก และมีรูปแบบยุทธลีลาเป็นแม่แบบในการต่อสู้ป้องกันตัว โดยมีหลักสูตรแห่งสมาธิในการกำหนดพลังยุทธทั้งภายในและภายนอก
วูซู มีหลายประเภท จำแนกเป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า และศิลปะการต่อสู้ด้วยอาวุธโบราณชนิดต่างๆ เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวจีนและเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนานและมีบทบาทสำคัญ สมัยโบราณ คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ แต่ชาวจีนโพ้นทะเลที่นำวิชาวูซูไปเผยแพร่เรียกขานตามภาษาพื้นเมืองว่า กังฟู
ต่อมาประเทศจีนได้พัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป นอกจากนี้ วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชียอีกด้วย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลวิชาวูซู นับตั้งแต่ชาวจีนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยแต่ครั้งโบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลายแม้แต่ปัจจุบันชาวไทยจะรู้จักวิชาวูซูว่าเป็นการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ
ซึ่งวูซูได้รับการพัฒนาและบรรจุเป็นชนิดกีฬาเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 16 ณ กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งสมาคมวูซูประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 19 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ผลการแข่งขันปรากฏว่า ได้ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง จากการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเพียง 6 คนเท่านั้น
และในปัจจุบันสถาบันOCA ได้เชิญ อ.สุจินดา หยางรุ่งรวิน ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาวูซู ซีเกมส์ปี2023 และได้การรับรองจากสมาคมกีฬาวูซูแห่งประเทศไทย มาเป็นอาจารย์คอร์สเรียนวูซู ของสถาบันฯ
ชุมชนโบราณหูท่ง
胡同 Hútòng (ตอนที่ 2)
แต่ก่อนการสร้างบ้านของชาวจีนโบราณจะมีรูปแบบที่เรียกว่า ซื่อเหอย่วน 四 合 院 Sì Hé Yuàn โดยมีลักษณะผังบ้านเป็นสี่เหลี่ยม แต่ละด้านจะอยู่ตามทิศทั้ง 4 ทิศ คือ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ซึ่งขนาดของบ้านจะแบ่งเป็น 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ แล้วแต่สถานะของครอบครัวนั้นๆ เจ้าบ้านจะอาศัยอยู่ด้านทิศเหนือ ลูกชายคนโตจะอยู่ที่ทิศตะวันตก ลูกสาว หรือคนในครอบครัว ที่มีสถานะต่ำกว่า (ลูกสาวที่หย่าร้าง ลูกสะใภ้ที่ไม่ให้กำเนิดบุตรชาย หรือแม่หม้าย) อยู่ห้องทิศตะวันออก ส่วนทิศใต้เป็นห้องทำงาน ห้องครัว หรือห้องคนรับใช้ ทั้งนี้ถ้าเป็นบ้านคนธรรมดาก็จะต่างออกไป บางที 4 ด้านก็อยู่กัน 4 ครอบครัวเลย บ้านทางทิศเหนือที่ถือว่าดีที่สุดสำหรับบ้านที่ฐานะดีที่สุด ในขณะที่ทิศใต้ก็สำหรับบ้านที่ฐานะต่ำสุด เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าบ้านแบบนี้ ปัจจุบันเราจะหาชมได้แค่ที่หูท่งเท่านั้น
หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492 หูท่งเก่าแก่จำนวนมากในกรุงปักกิ่งถูกทำลายลง แทนที่ด้วยถนนกว้าง และตึกสูงระฟ้า แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง จนสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะหูท่งเก่าแก่ที่ชื่อ หนานหลัวกู่เซี่ยง และ กั๋วสื่อเจียน 国 子 监 Guó Zǐ Jiān หรือ อู่เต้ายิง 五 道 营 Wǔ Dào Yíng
หนานหลัวกู่เซี่ยง หูท่งยอดนิยมในปักกิ่ง
หนานหลัวกู่เซี่ยง(南 锣 鼓 巷 Nán Luó Gǔ Xiàng )เป็นหูท่งที่ยาว 300 เมตร กว้าง 8 เมตร สร้างเสร็จในปี 1267 พร้อมกับการสร้างกรุงปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวน ซอยนี้มีการแตกเส้นสายออกเป็นหูท่งขนาดเล็กอีกมากมาย และยังเป็นพื้นที่เดียวที่ยังรักษาสภาพหมู่บ้าน และผังเมืองโบราณไว้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการพัฒนาบ้านเรือนต่างๆ ให้เป็นร้านค้าเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว มีทั้งบาร์ คาเฟ่ เบเกอรี่ ร้านเครื่องประดับ ฯลฯ ซึ่งก็วางตัวได้อย่างเหมาะสมผสานความใหม่และความเก่าเข้ากับบรรยากาศของหูท่งได้อย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
นอกเหนือจากหนานหลัวกู่เซี่ยง จริงๆ ก็ยังมีหูท่งอื่นๆ อีกหลายจุดที่น่าไปเยือน เช่น กั๋วสื่อเจียน 国 子 监 Guó Zi Jiān หรืออู่เต้ายิง 五 道 营 Wǔ Dào Yíng เป็นอีกหูท่งที่เราจะได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชุมชนชาวจีนโบราณที่อบอุ่น สวยงาม ไม่เร่งรีบ ซึ่งก็แปลกตา และขัดกับภาพของความเป็นเมืองใหญ่อย่างปักกิ่งอยู่ไม่น้อย ใครมีโอกาสไปเที่ยวเมืองจีนอยากให้ลองใช้เวลาซัก 1 วันเต็มๆ เดินเล่นหูท่งดู
ชุมชนโบราณหูท่ง
胡同 Hútòng (ตอน 1)
ท่ามกลางความทันสมัย และยิ่งใหญ่ของเมืองหลวงอย่าง ปักกิ่ง ยังมีชุมชนที่สามารถอนุรักษ์ความคลาสสิกไว้ได้เป็นอย่างดี นั่นคือชุมชนโบราณหูท่ง Hútòng ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม และบรรยากาศบ้านเรือนสมัยก่อนไว้ได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางความเจริญของเมืองใหญ่ที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
หูท่ง Hútòng ชุมชนโบราณ ย่านเมืองเก่ากลางกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
หูท่ง (胡同) เป็นชื่อเรียกของตรอก หรือซอกซอยโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์ คงความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเมืองสมัยก่อนไว้ คำว่า หูท่ง มาจากศัพท์ภาษามองโกลที่แปลว่า บ่อน้ำ เนื่องจากในสมัยที่ราชวงศ์หยวนเริ่มสร้างกรุงปักกิ่งนั้น เมื่อจะสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆ ก็จะยึดเอาแหล่งน้ำเป็นสำคัญ
หูท่งนั้นเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวังต้องห้าม ฮ่องเต้จะพระราชทานที่ดินให้กับขุนนางที่มีความดีความชอบ ยิ่งใครได้อยู่ใกล้พระราชวังมากเท่าไหร่ แสดงว่าเป็นขุนนางใกล้ชิด ส่วนชาวบ้านเองก็นิยมสร้างบ้านเรือนอยู่รอบนอกใจกลางเมืองอีกที กลายเป็นลักษณะแบบเมืองชั้นใน และชั้นนอก หูท่งนั้นเริ่มมีจำนวนมากขึ้นตามกาลเวลา แรกเริ่มมีอยู่ประมาณ 413 สายในราชวงศ์หยวน และเพิ่มเป็น 1,000 กว่าสายในสมัยราชวงศ์หมิง 2,000 กว่าสายในสมัยราชวงศ์ชิง
“ 梁山伯与祝英台 ”
“ Liáng Shānbó yǔ Zhù Yīngtái ”
“ 梁 祝 ” 是小提 琴协奏曲 “ 梁山伯与祝英台 ” 的简称。这是
“liángzhù” shì xiǎotíqín xiézòuqǔ “liáng shānbó yǔ zhù yīngtái” de jiǎnchēng. Zhè shì
一部根据中国古代民间故事写成的 乐曲, 乐曲十分 优美动听, 它描
yī bù gēnjù zhōngguó gǔdài mínjiān gùshì xiěchéng de yuèqǔ, yuèqǔ shí fēn yōuměi dòngtīng, tā miáo
绘了青年男女梁山伯和祝英台动人的爱情故事。
huìle qīng nián nánnǚ liáng shānbó zhù yīngtái dòngrén de àiqíng gùshì.
梁山伯和祝英台是同学。中国古时候, 女孩子是不能去学校读书
liáng shānbó zhù yīngtái shì tóngxué. zhōngguó gǔ shíhòu, nǚ háizi shì bùnéng qù xuéxiào dúshū
的,所以英台只好女扮男装去上学。她与山伯一起学习了三年,两个
de, suǒyǐ yīngtái zhǐhǎo nǚbànnánzhuāng qù shàngxué. tā yǔ shānbó yīqǐ xuéxíle sān nián, liǎng gè
人感情特别好,英台很喜欢山伯。可是山伯并不知道英台是女的。回
rén gǎnqíng tèbié hǎo, yīngtái hěn xǐhuān shānbó. Kěshì shānbó bìng bù zhīdào yīngtái shì nǚ de. huí
家之前,英台告诉山伯,她有一个妹妹,可以嫁给他。分别时两人依
jiā zhī qián, yīngtái gào sù shānbó, tā yǒu yīgè mèimei, kě yǐ jià gěi tā. fēnbié shí liǎng rén yī
依不舍。回到家,英台的父母要她嫁给别人,英台不同意,可是又没
yī bù shě. huí dào jiā, yīngtái de fùmǔ yào tā jià gěi biérén, yīngtái bù tóngyì, kěshì yòu méi
有办法。过了一段时间,山伯去英台家求婚,他听说英台要嫁给别人
yǒu bànfǎ. guòle yīduàn shíjiān, shānbó qu4 yīngtái jiā qiúhūn, tā tīng shuō yīngtái yào jià gěi biérén
了,这才知道英台原来是个女的。山伯家里很穷,英台的父母不同意
le, zhè cái zhīdào yīngtái yuánlái shìgè nǚ de. shānbó jiālǐ hěn qióng, yīngtái de fùmǔ bù to2ngyì
英台嫁给山伯。山伯非常思念英台,不久就病死了。英台在出嫁的路
yīngtái jià gěi shānbó. shānbó fēicháng sīniàn yīngtái, bùjiǔ jiù bìngsǐle. yīngtái zài chūjià de lù
上,路过山伯的坟墓。她来到墓前,伤心地大哭。这时,刮起了大
shàng, lùguò shānbó de fénmù. tā lái dào mùqián, shāng xīn de dà kū. Zhè shí, guā qǐle dà
风,响起了雷声,下起了大雨。突然一声响,坟墓开了,英台跳了进
fēng, xiǎngqǐle léi shēng, xià qǐle dàyǔ. tu1rán yīshēng xiǎng, fénmù kāile, yīngtái tiào le jìn qù,
去坟墓马上合上了。风停了,雨也不下了,花开了,一对蝴蝶从坟
fén mù mǎshàng hé shàngle. fēng tíngle, yǔ yě bù xiàle, huā kāile, yī duì hú dié cóng fén
墓中飞了出来。从此以后,人们常常能看到一对对蝴蝶在这儿飞来飞
mù zhōng fēile chūlái. cóngcǐ yǐ hòu, rénmen chángcháng néng kàn dào yī duì duì húdié zài zhèr fēi lái fēi
去。人们都说,这些蝴蝶就是梁山伯和祝英台变的。
qù. rénmen dōu shuō, zhèxiē húdié jiù shì liáng shānbó hé zhù yīngtái biàn de.
梁山伯和祝英台的爱情故事很美, “梁 祝” 这首小提琴协奏曲也 很动听。
liáng shānbó zhù yīngtái de àiqíng gùshì hěn měi, “ liángzhù ” zhè shǒu xiǎotíqín xiézòuqǔ yě hěn dòngtīng
นิทานพื้นบ้านม่านประเพณี(คู่รักผีเสื้อ)
(เหลียงจู้) เป็นชื่อย่อของไวโอลินคอนแชร์โต เพลงนี้เป็นบทบรรเลงที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นบ้านม่านประเพณี(คู่รักผีเสื้อ) ของประเทศจีนโบราณ บทบรรเลงไพเราะน่าฟังมาก ซึ่งพรรณนาถึงความรักที่สะเทือนใจของชายหนุ่มหญิงสาวเหลียงซานป๋อและจู้อิงไถ
เหลียงซานป๋อและจู้อิงไถ เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกัน ในสมัยโบราณประเทศจีนเด็กผู้หญิงไม่สามารถไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้ ดังนั้นอิงไถจึงปลอมตัวเป็นชายเพื่อที่จะได้ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน เธอกับเหลียงซานป๋อเรียนหนังสือด้วยกัน 3 ปี และเริ่มมีความรู้สึกที่ดีต่อกันเป็นพิเศษ อิงไถชอบเหลียงซานป๋อมาก แต่เหลียงซานป๋อไม่รู้ว่าอิงไถเป็นผู้หญิง ก่อนกลับบ้านอิงไถบอกเหลียงซานป๋อว่านางมีน้องสาวคนหนึ่งสามารถแต่งกับเขาได้ ตอนที่จะแยกจากกันทั้งสองอาลัยอาวรณ์มาก ครั้นกลับถึงบ้าน พ่อของอิงไถต้องการให้นางแต่งงานกับชายอื่น แต่อิงไถไม่เห็นด้วยแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หลังจากนั้นไม่นานครอบครัวของเหลียงซานป๋อได้ไปขอน้องสาวอิงไถแต่งงาน เขาจึงรู้ว่าอิงไถกำลังจะแต่งงานกับชายอื่น ณ ตอนนี้เขารู้แล้วว่าแท้จริงแล้วอิงไถเป็นผู้หญิง ครอบครัวของเหลียงซานป๋อยากจนมาก พ่อแม่ของนางไม่เห็นด้วยที่จะให้นางแต่งงานกับเหลียงซานป๋อ เหลียงซานป๋อรู้สึกคิดถึงนางมาก หลังจากนั้นไม่นานก็ป่วยและเสียชีวิตลง
ระหว่างเส้นทางที่นางจะไปแต่งงาน นางได้เดินทางผ่านสุสานของเหลียงซานป๋อ นางมาถึงหน้าหลุมศพนางร้องไห้เสียใจอย่างขมขื่น ณ ขณะนั้นเกิดลมพายุพัดแรง เสียงฟ้าร้อง และฝนตกกระหน่ำ ทันใดนั้นมีเสียงดังขึ้นดินที่หลุ่มฝังศพแยกออกจากกัน แล้วอิงไถก็กระโดดลงไปและสุสานก็ปิดลงทันที ลมสงบ ฝนหยุดตก ดอกไม้บาน และก็มีผีเสื้อคู่หนึ่งบินออกมาจากหลุมฝังศพ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมามักมีผู้คนเห็นผีเสื้อเป็นคู่ๆบินไปมาอยู่ ณ บริเวณนี้ ผู้คนต่างเชื่อว่าผีเสื้อที่เห็นนี้คือเหลียงซานป๋อและจู้อิงไถนั่นเอง
เรื่องราวความรักของทั้งสองสวยงามมาก ไวโอลินคอนแชร์โตของเหลียงจู้ก็ไพเราะมากเช่นกัน
กินเกี๊ยวในวันตรุษจีน
饺子 jiăozi แปลว่า เกี๊ยว
春节吃饺子 chūn jié chī jiăozi กินเกี๊ยวในวันตรุษจีน
饺子是深受中国汉族人民喜爱的传统特色食品, 也是每年春节必吃的年节食品。เกี๊ยวเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมของชาวจีนอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีน ด้วยเหตุที่ไส้ที่ใส่เข้าไปในเกี๊ยวนั้นมีหลายอย่าง มีวิธีการทำที่หลากหลาย ทั้งทอดและต้ม ทำให้ปัจจุบันเกี๊ยวเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ในวัฒนธรรมจีนไม่ว่าอาหารจีนที่มีรสชาติอร่อยแค่ไหน ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้กับเกี๊ยวที่ชาวจีนรับประทานกันในคืนข้ามปี เพราะคำว่า เกี๊ยว ในภาษาจีน ซึ่งก็คือคำว่า 饺子 jiăozi ไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 jiāo (新旧交替) ซึ่งหมายถึงการนำสิ่งเก่ามาแลกสิ่งใหม่ โดยทั้งหมดนี้มีความหมายว่า ปีเก่ากำลังจะผ่านพ้นไปและปีใหม่กำลังจะมาถึงนั่นเอง
นอกจากนี้คำว่า 饺 jiăo จากคำว่า 饺子 ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 jiāo (相交团圆) ที่หมายถึงความรักใคร่กลมเกลียว ถ้าหากเราและคนในครอบครัวรับประทานเกี๊ยวครอบครัวของเราก็จะรักใคร่กลมเกลียว และสามัคคีกันนั่นเอง
เกี๊ยวมีลักษณะเหมือนเงินก้อนในสมัยโบราณของคนจีน และการห่อเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนการห่อเอาความโชคดีเข้าไว้ และการกินเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ร่ำรวย โดยสรุปแล้วการรับประทานเกี๊ยวในวันตรุษจีน ก็คือการก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาปีใหม่ และยังเป็นวิธีการขอพรไปพร้อมๆกัน
เทศกาลสารทจีน 中元节 zhōng yuán jié
เทศกาลสารทจีน ตรงกับเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน สารทจีน 2565 ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพิธีเซ่นไหว้ ดังนั้นบางครั้งชาวจีนจึงเรียกวันดังกล่าวว่า GuǐJié หรือ Wángrén Jié แปลว่า เทศกาลเซ่นไหว้ผู้ซึ่งล่วงลับไปแล้ว
Guǐ Wángrén Jié |
หมายถึง หมายถึง หมายถึง |
ผี ซึ่งเป็นคำเรียกคนที่ถึงแก่กรรมแล้ว คนที่ตายไปแล้ว เทศกาล |
ประวัติและตำนานวันสารทจีน
กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เงี่ยมล้อเทียนจือ(ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวานและกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ชุดที่ไหว้ การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้
ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวานขนมกุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง
ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษคล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใส ๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง
ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสีวิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า สัมภเวสี หรือ ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้
ขนมที่ใช้ไหว้ในเทศกาลสารทจีนสมัยโบราณใช้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
1. ปัง คือ ขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
2. เปี้ย คือ ขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
3. หมี่ คือ ขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
4. มั่ว คือ ขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
5. กี คือ ขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง และของหวาน 3 อย่าง เวลาเลือกของไหว้ อาจเลือกของคาว 3 อย่างแล้วผสมกับขนมให้เป็น 5 อย่าง เช่นเดียวกับเวลาเลือกขนม ก็อาจจะเลือกขนม 3 อย่างผสมกับผลไม้ให้กลายเป็น 5 อย่างก็ได้
ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นอาหารคาว
เป็ด ไก่ ปลา หมูสามชั้น เกี๊ยวกุ้ง |
หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง |
ความบริสุทธิ์ การงานก้าวหน้า มีอันจะกินไม่หมดสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ ห่อโชคลาภ |
ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นขนม
ขนมเข่ง และขนมเทียน ขนมถ้วยฟู ขนมเปี๊ยะ ขนมปุยฝ้าย ถั่วตัด |
หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง |
ความราบรื่น หวานชื่น เพิ่มพูน รุ่งเรือง ครอบครัวสามัคคี เงินทองเพิ่มพูน กินอยู่อุดมสมบูรณ์ |
ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นผลไม้
ส้ม กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น สาลี่ |
หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง หมายถึง |
ความโชคดี ลูกหลานเต็มบ้าน ความสงบสุขในครอบครัว อายุยืน เจริญ งอกงาม ความสำเร็จ |
ป้ายชื่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ป้ายชื่อขนาดเล็กทำด้วยไม้กว้างประมาณ 10-20 ซม. สูงประมาณ 2 เท่าของความกว้างและบนแผ่นป้ายไม้นั้นจะเขียนชื่อของผู้ล่วงลับ ชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนบรรพชนเก็บไว้บูชาเมื่อถึงเทศกาลวันไหว้บรรพบุรุษลูกหลานในครอบครัวก็จะทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ โดยจุดธูปเทียนอัญเชิญวิญญาณเพื่อให้มารับเครื่องบวงสรวงของลูกหลาน ครอบครัวที่มีฐานะดีก็จะนำป้ายชื่อไปทำพิธีที่วัดที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ล่วงลับ ส่วนครอบครัวที่มีฐานะธรรมดา จะใช้วิธีตั้งโต๊ะเครื่องบูชาเล็กๆในบ้านหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยจะนำป้ายบรรพบุรุษมาตั้งบนโต๊ะด้วย
ชาวจีนให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดลำดับอาวุโสมาก ดังนั้นป้ายชื่อเหล่านี้จะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามอาวุโสของผู้ล่วงลับเพื่อแสดงถึงความเคารพ โดยป้ายชื่อของฝ่ายชายจะมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายหญิง และการนำป้ายชื่อของต้นตระกูลออกมาตั้งให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนที่บ้านได้เห็นนั้นถือเป็นความภูมิใจในบรรพบุรุษของชาวจีน
ในส่วนของผู้หญิงนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนำป้ายชื่อออกมาวางรวมกับบรรพบุรุษ จะนำขึ้นมารวมได้ใน 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 หญิงที่แต่งงานแล้วเมื่อเสียชีวิตลงป้ายชื่อของเธอจะต้องตั้งต่อจากสามี หากสามีเสียชีวิตก่อนแล้ว แต่ถ้าผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานแล้วเสียชีวิตลงป้ายชื่อไม่สามารถนำไปวางร่วมกับชื่อบรรพบุรุษของครอบครัวตนได้
กรณีที่ 2 หากมีการหมั้นหมายระหว่างหญิงชายเกิดขึ้นแล้วฝ่ายหญิงเสียชีวิตก่อนที่จะแต่ง และฝ่ายชายต้องการระลึกถึงฝ่ายหญิงก็สามารถตั้งป้ายรวมกับครอบครัวได้ โดยยอมรับหญิงนั้นเป็นภรรยาและฝ่ายชายต้องมีสถานะเป็นพ่อหม้าย แต่ก็สามารถที่จะแต่งงานใหม่กับหญิงอื่นได้
กรณีที่ 3 เป็นกรณีสุดท้าย ป้ายชื่อของฝ่ายหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานนี้สามารถนำไปเก็บไว้ที่วัดที่จัดแบ่งเนื้อที่ไว้สำหรับเก็บป้ายชื่อของผู้เสียชีวิตโดยเฉพาะ ในแต่ละที่ก็ต้องมีการซื้อที่สำหรับเก็บป้ายชื่อด้วยแต่จะแพงมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และชื่อเสียงของวัดที่จะนำไปเก็บ
กาน้ำชา
การดื่มน้ำชาในหมู่ของชนชาติต่างๆมิได้เพิ่งเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน หากสืบเนื่องตกทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ภาชนะที่ใช้บรรจุชาในรูปแบบต่างๆจึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตามมา เพราะถือว่าเป็นเครื่องแสดงถึงรสนิยมของผู้ดื่มชา มีหลักฐานปรากฏว่าการดื่มชาด้วยการลวกใบชาและดื่มในถ้วยใบเล็กนิยมมากในราชวงศ์หมิงของประเทศจีนกระทั่งเป็นที่แพร่หลายไปยังประเทศใกล้เคียง และต้นกำเนิดของการปั้นกาน้ำชาที่ดีที่สุดอยู่ในแถบ Yíxìng 宜 兴 มณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของประเทศจีนอยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร ปั้นอี๋ซิงเป็นปั้นชาจีนที่นิยมสะสมกันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ดังมีคำกล่าวว่าหากแผ่นดินจีนเป็นแดนกำเนิดแห่งชาหอม Yíxìng 宜 兴 คือถิ่นกำเนิดของการปั้นกาน้ำชาดินสีแดง จากความกลมกลืนหลายประการซึ่งผสมผสานระหว่างรสชาติละมุนของใบชาและโครงร่างของดินเผาอย่างดี ทำให้ดิน Yíxìng 宜 兴 ใช้ทำกาน้ำชาได้ดีที่สุดในโลก เพราะมีลักษณะพิเศษมากคือเป็นดินทรายเนื้อละเอียดและมีสีแดงเผาแล้วแข็งกว่าดินที่ใช้ทำหม้อไหและมีแร่ธาตุหลายชนิดที่เหมาะสำหรับการปั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้ Yíxìng 宜 兴 เป็นย่านอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญและมีบทบาทในสังคมและวัฒนธรรมจีนมากว่า500ปี โดยเป็นที่รู้จักกันทั่วไปไม่เฉพาะในจีนเท่านั้นและความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของกาน้ำชา Yíxìng 宜 兴 คือการผลิตจะตกแต่งกาน้ำชาด้วยไม้ไผ่เหลาแทนใบมีด ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคการผลิตโดยใช้แป้นหมุน และมักผลิตกาน้ำชาออกมาเป็นทรงลูกท้อเพราะชาวจีนเชื่อว่าลูกท้อเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและอายุยืน
วันตรุษจีน
ที่มาของ วันตรุษจีนเกิดจากการจัดขึ้นเพื่อตั้งใจที่จะฉลองฤดูใบไม้ผลิเนื่องจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนนั้น ประเทศจีนปกคลุมไปด้วยหิมะไม่สามารถทำการเกษตรได้เมื่อเข้าถึงฤดูใบไม้ผลิจึงจะสามารถเพาะปลูกพืชผักได้ตามปกติ ชาวจีนจึงกำหนดให้วันแรกของฤดูใบไม้ผลิในแต่ละปีเป็นวันสำคัญที่เรียกว่า "วันตรุษจีน" ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆนั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า
อาหารมงคลรับตรุษจีนมีความต่างกัน
เกี๊ยว | หมายถึง | ความมั่งคั่ง |
ปอเปี๊ยะ | หมายถึง | ความร่ำรวย |
เค้กข้าว | หมายถึง | หน้าที่การงาน |
บัวลอย | หมายถึง | ครอบครัวอบอุ่น |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นยาว | หมายถึง | ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว |
ผลไม้มงคล | หมายถึง | ความสมบูรณ์และความมั่งคั่ง |
เม็ดบัว | หมายถึง | การมีลูกหลานที่เป็นชาย |
เกาลัด | หมายถึง | มีความหมายถึง เงิน |
สาหร่ายดำ | หมายถึง | ความร่ำรวย (คำของมันออกเสียงพ้อง) |
หน่อไม้ | หมายถึง | คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข (คำของมันออกเสียงพ้อง) |
ปลาทั้งตัว | หมายถึง | เป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกันและความอุดมสมบรูณ์ |
ไก่ | หมายถึง | ความเจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องเป็นไก่ต้มทั้งตัวครบชิ้นส่วน เพื่อแสดงถึงความสมบูรณ์ |
เต้าหู้หมักทำจากถั่วแห้ง | หมายถึง | เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข (คำของมันออกเสียงพ้อง) |
(เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์)
ทางตอนใต้ของจีนอาหารที่นิยมทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ส่วนทางเหนือได้แก่ หมั่นโถและติ่มซำ
เสื้อผ้าวันตรุษจีนการใส่เสื้อผ้าสีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคล เป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์
อั่งเปาสัญลักษณ์ที่ทุกคนทราบดีในวันตรุษจีนคือ อั่งเปาสีแดง โดยมีธรรมเนียมคือ ผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานมาและทำงานมีรายได้แล้ว จะมอบซองสีแดง(ที่มีเงินจำนวนหนึ่งข้างใน) ให้กับเด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่ ซึ่งสีแดงของอั่งเปานั้นมีความหมายถึงโชคดี และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้นมักจะมีจำนวนเป็นเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8